การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง

Last updated: 16 พ.ย. 2566  |  2289 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง

 

การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง

การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฏากร กำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจบังคับให้ผู้ค้างภาษีอากรชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระได้เองโดยไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้แต่อย่างใด กระบวนการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากรมิได้ยุติแค่การชำระภาษีเท่านั้น แต่กระบวนการจัดเก็บภาษีอากรยังครอบคลุมไปถึงกรณีการเร่งรัดจัดเก็บหนี้ภาษีอากรค้างด้วย

 

ภาษีอากรค้าง

ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติถึงความหมายของภาษีอากรค้างไว้ในมาตรา 12 วรรคแรกว่า “ภาษี อากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้เมื่อถึงกำหนดชำระแล้วและมิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง” ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ได้กำหนดให้ยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ก็เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานให้เป็นไปในแนวทางหรือมาตรฐานเดียวกัน

 

การเกิดหนี้ภาษีอากร

กรณีที่เกิดหนี้ภาษีอากรเนื่องจากผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งเรียกว่า ภาษีอากรค้าง กฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเป็นฝ่ายบริหาร ไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาลเป็นการลดขั้นตอนเพื่อให้คดีอากรรวดเร็วขึ้น กล่าวคือ อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีได้ทั่วราชอาราจักรโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล

 

การยึด

“ยึด” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครองเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเจ้าพนักงานบังคับทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐ

การยึด ได้แก่ ยึดที่ดิน, บ้าน, อาคาร, รถยนต์, หุ้น, สังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

 

การอายัด

“อายัด” หมายความว่า การสั่งให้ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง หรือบุคคลภายนอกมิให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่ง อายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งให้บุคคลภายนอกมิให้ชำระหนี้แก่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง แต่ให้ชำระหนี้แก่หน่วยงานของรัฐภายในเวลาหรือภายใต้เงื่อนไข

การอายัด ได้แก่ อายัดเงินฝากธนาคาร, เงินเดือน (กรณีเอกชน, รัฐวิสาหกิจ) สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก

 

การขายทอดตลาด

“ขายทอดตลาด” หมายความว่า การนำทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองที่ได้ยึดหรืออายัดแล้วออกขายโดยวิธีให้สู้ราคากันโดยเปิดเผย ซึ่งอาจดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

 

กระบวนการหลังจากยึดอสังหาริมทรัพย์

1. เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังสำนักงานที่ดิน
2. ส่งหมายแจ้งจำเลย
3. ส่งหมายสอบถามราคาประเมินไปยังสำนักงานประเมินทรัพย์สินกลาง
4. ส่งหมายแจ้งผู้รับจำนองเพื่อให้ส่งโฉนดมาใช้ในการขายทอดตลาด
5. ขออนุญาตศาลเพื่อขายทอดตลาด
6. พิมพ์หมายประกาศขายทอดตลาด
7. ขายทอดตลาด

 

ที่มา : 

กรมบังคับคดี
ราชกิจจานุเบกษา
Aphiwat Bualoi Law
กรมสรรพากรสาส์น
หนังสือ : สรรพากรสาส์น วารสารความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรปีที่ 70 ฉบับ ที่ 7 ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้