การเสียภาษีร้านค้าออนไลน์

Last updated: 16 ก.พ. 2567  |  314 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเสียภาษีร้านค้าออนไลน์

การเสียภาษีร้านค้าออนไลน์


ในปัจจุบันการขายของออนไลน์กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าได้ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Shopee, Lazada, TikTok, Grab, Line Man เป็นต้น ซึ่งรายได้จากการขายของออนไลน์นั้น จำเป็นต้องยื่นและเสียภาษีอย่างถูกต้อง


และด้วยเหตุนี้ กรมสรรพากรจึงมีกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ เพื่อนำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป


โดยกรมสรรพากรได้กำหนดเงื่อนไขให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย และมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องทำบัญชีพิเศษ หรือบัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ได้รับจากผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ขายสินค้า หรือบริการบนแพลตฟอร์ม โดยต้องนำส่งไปให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และกรณีแพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในประเทศไทยในปีถัดไปมีรายได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ก็ยังจำเป็นต้องทำบัญชีพิเศษต่อไปอีกด้วย


นอกจากนี้จะต้องมีการเชื่อม และนำส่งข้อมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสรรพากร สำหรับแพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทยมี่จำนวนมาก อาทิ ธุรกิจ e-Commerce, บริการส่งอาหาร และสินค้า เช่น Shopee, Lazada, TikTok, Grab, Line Man เป็นต้น


ขายออนไลน์แบบไหน ต้องเสียภาษี

เพราะเป็นเงินได้จากการค้าขายที่ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงินได้ประเภทที่ 40(8) ซึ่งเป็นเงินได้ ของบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านขายของออนไลน์โดยส่วนใหญ่ รายได้ที่เกิดจากการขายของออนไลน์ผ่าน Social Media Platform และ Market Place Platform


ขายของออนไลน์ ยื่นภาษีเมื่อไหร่

คนขายของออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออายุเท่าไร หากคนโสด ที่มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท หรือคนที่มีคู่ (สมรส) ที่มีรายได้ทั้งปีเกิน 120,000 บาท (สมรส) ต้องยื่นภาษี 2 รอบ

  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายนของปีเดียวกัน
  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคมของปีถัดไป

กรณีที่รายได้จากการขายทั้งปีเกิน 1,800,000 บาท ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ณ สรรพากรเขตพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านออนไลน์ และทุกเดือนต้องคำนวณมูลค่าสินค้าเพื่อนำส่งให้สรรพากรทุกเดือน ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค้าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป


เงินเข้าบ่อยๆ ต้องเสียภาษีไหม

ในปัจจุบันใครๆ ก็หันมาใช้อีเพย์เมนต์ (e-payment) โดยธนาคารจะต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรหากเข้าข่าย “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” หรือ ธุรกรรมการฝากเงิน การรับโอนเงิน (เฉพาะเงินโอนเข้าบัญชี) รวมกันทุกบัญชีใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมภายในปีนั้นๆ โดยธุรกรรมลักษณะเฉพาะนี้ไม่ได้กำหนดเฉพาะ คนขายของออนไลน์เท่านั้น แต่ใช้กับทุกคน

  • จำนวนเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป โดยไม่กำหนดยอดรวมธุรกรรมเงินโอนเข้าบัญชี
  • จำนวนเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป โดยยอดรวมธุรกรรมเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป

ถ้าเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร โดยผู้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง เก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และยื่นแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกันสุขภาพที่นอกจากจะได้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยแล้ว ยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย อย่างประกันสุขภาพออนไลน์ Easy E-Health ประกันที่เหมาจ่ายค่ารักษาให้ตามจริงสูงสุด 1,500,000 บาท พร้อมค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD (ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก) และยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยในส่วนคุ้มครองชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเบี้ยประกันภัยสุขภาพหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท (รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท) ได้อีกด้วย


ลดหย่อนภาษีสำหรับคนขายของออนไลน์


  1. หักค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้ที่ 8 เงินได้ตามมาตรา 40 (8) แบบเหมา 40-60% ของเงินได้หรือตามจริง
  2. ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี สำหรับประกันชีวิตที่ให้ความ คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  3. ประกันสุขภาพของตัวเอง ลดหย่อนได้ตามจริง หรือสูงสุด 25,000 บาท/ปี แต่ประกันสุขภาพ + ประกันชีวิต = รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
  4. บริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน


หมายเหตุ : การใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมสรรพากร, FWD


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้