Last updated: 19 มี.ค. 2567 | 562 จำนวนผู้เข้าชม |
อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษี
เหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งที่ประเทศต่างๆ เข้าทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษี
(“อนุสัญญาภาษีซ้อน”)
เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เจรจากันเพื่อขจัดการเก็บภาษีเงินได้รวมถึงมีการกำหนดความร่วมมือด้านภาษีระหว่างกัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำข้อตกลงกับทางประเทศต่างๆ แต่สามารถสรุปหลักการเบื้องต้นได้ ดังนี้
1.1 การจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้
ถ้าหากเรามีเงินได้หรือรายได้หรือรายได้ในประเทศไหน เราย่อมมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศนั้น
1.1.1 หลักแหล่งเงินได้กรณีของบุคคลธรรมดา
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักแหล่งเงินได้ตามประมวลรัษฎากรของไทยเป็นไปตามมาตรา41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งวางหลักว่า ผู้มีเงินได้จากหน้าที่งานหรือจากกิจการที่ทำในประเทศไทยหรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย
1.1.2 หลักแหล่งเงินได้กรณีของนิติบุคคล
สำหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหลักแหล่งเงินได้ปรากฎตามประมวลรัษฎากรในมาตรา66
วรรคสอง มาตรา67 มาตรา76 ทวิ และ มาตรา70 แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 การจัดเก็บภาษีตามหลังถิ่งที่อยุ่ผู้มีถิ่นที่อยู่
ในประเทศใดต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลของประเทศนั้น ไม่ว่าผู้นั้นจะมีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศใดหรือไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติของประเทศใดก็ตาม เพราะเมื่อบุคคลใดมีถิ่นที่อยู่ในประเทศใดแล้วย่อมได้ใช้บริการหรือได้รับประโยชน์จากรัฐ ในประเทศที่ตนเองมีถิ่นที่อยู่นั้น
1.2.1 หลังถิ่นที่อยู่กรณีของนิติบุคคลธรรมดา
ตามประมวลรัษฎากรของไทย นอกจากจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักแหล่งเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่งแล้ว กฎหมายยังได้ขยายอำนาจการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักถิ่นที่อยู่ด้วย
1.2.2 หลังถิ่นที่อยู่กรณีของนิติบุคคล
สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล หลักถิ่นที่อยู่มิได้มีการบัญญัติไว้ได้อย่างชัดเจน หากแต่เป็นการตีความบทบัญญัติในมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และวรรคสองแห่งประมวลรัษฏากร กล่าวคือ เมื่อมาตรา 66 วรรคสอง บัญญัติให้บริษัทต่างประเทศที่ประกอบกิจการในที่ต่างๆ รวมทั้งในประเทศไทยต้องเสียภาษีเงินได้เฉพาะจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
ที่มา : หนังสือสารพันปัญหาภาษีระหว่างประเทศ
แหล่งอ้างอิง : kasikornbank
4 ต.ค. 2567
3 ต.ค. 2567
31 ต.ค. 2567
22 ต.ค. 2567